โดยในการทดสอบยางครั้งนี้ Motorrad จะเลือกทดสอบยางที่เป็น Off Road จากค่ายต่างๆเอามาทดสอบ แบบที่เราใช้งานใน “ชีวิตจริง” และขั้นตอนในการทดสอบของ Motorrad ในครั้งนี้ จะเป็นไปอย่างเท่าเทียมที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และจะพยามควบคุมการขับขี่ของแต่ละคนให้เป็นในทางเดียวกัน และจะขี่เป็นแถวตอนเดียว เพื่อควบคุมความเร็ว และให้ยางถูกใช้งานอย่างเท่าเทียมทุกคู่
เส้นทางที่ใช้เดินทางใน Sardinia เป็นเวลา 5วัน ระยะทางรวมกว่า 1500 กิโลเมตร แบ่งได้เป็น ถนนดำ50 ออฟโรด50 โดยจะผ่านทั้งทางแห้งและเปียก ถ้าใครได้ไปเที่ยวเกาะนี้ จะลองขี่ตามเส้นทางนี้ก็ได้ เพราะจะได้เจอกับถนนทุกรูปแบบ เหมาะกับการขับขี่ รถ Adventure ขนาดใหญ่เป็นอย่างยิ่ง
หัวข้อในการทดสอบของ Motorrad จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
- ทางเรียบ / ทางหลวง
- ทางลูกรัง / off road
- ทางเปียก และฝน
- อายุการใช้งาน
การทดสอบในส่วนแรกจะเป็นการขับขี่บนทางหลวง ถนนดำ แล้วการทำความเร็วสูงๆ ซึ่งรถคันที่นำมาใช้ทดสอบ สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 219 กม/ชม. แต่เนื่องจากยางที่นำมาทดสอบมี เรทความเร็วที่ต่ำที่สุดคือ “Q” ที่รองรับความเร็วสูงสุดได้ที่ 160 กม/ชม.(Bridgestone, Continental) และเรทรองรับความเร็วสูงสุดคือ “T” ที่รองรับความเร็วสูงสุดได้ 190 กม/ชม. แต่ทาง Mottorad จะทิ้งตรงส่วนนี้ไป และจะขับขี่บนทางหลวงด้วยความเร็วไม่เกิน 200 กม/ชม. เพราะต้องแบกกล่องข้าง 2 ใบ พร้อมสัมภาระเต็ม รวมถึงเต้นท์และถุงนอน แต่จะใช้ความเร็วนี้แค่ในระยะ 250 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งทางทีมทดสอบเห็นว่าคงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ขอแค่ของยังอยู่ครบ และลงจากรถครบ 32
สรุปผลการทดสอบบนทางเรียบ / ทางหลวง
การทดสอบในทางออฟโรด
หลักจากที่เดินทางบนถนนดำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะเข้าทาง ออฟโรดในการทดสอบครั้งนี้จะไม่ได้วิ่งผ่านเส้นทางแบบสุดโต่ง แบบ Rally Dakar ที่ต้องขี่ผ่านเนินทราย ในประเทศโมรอคโค เส้นทางที่จะทดสอบยาง ที่เกาะ Sardinia แห่งนี้ จะเป็นถนนในหมู่บ้านเกษตรกร ที่ชาวบ้านจะใช้รถแทรคเตอร์ในการเดินทาง หรือเป็นเส้นทางที่ชาวบ้านพาฝูงแกะ ไปกินหญ้า ถนนหนทางในหมู่บ้าน จะเป็นกรวดหิน ดินแห้ง หรือทางโคลนเละๆ ที่มีหญ้าขึ้นอยู่ประปรายซะมากกว่า นอกจากนั้น ขอบทางจะเป็น เหว ไม่มีไม้กั้น เนินสูงๆต่ำๆ สลับกันไป แบบชนบทจริงๆ แต่อย่างน้อย บนเกาะแบบนี้ ก็ยังพอมีสัญญาณ ให้ Google Map พาไปจุดหมายได้โดยไม่หลงทาง และถือเป็นโอกาสที่จะได้ทดสอบระบบเพลาขับหลังของ R1250GS ไปในตัว และเมื่อถึงเส้นทางแบบนี้ จะได้ลิ้มลอง โหมด Enduro Pro พร้อมกันทั้ง 6 คัน เพื่อจะได้รู้สึกถึงสมรรถณะของยางแบบแท้จริง
สรุปผลการทดสอบบนทางออฟโรด
สมรรถนะบนทางดินเลนส์สีแดง…Michelin Anakee Wild สามารถแสดงสมรรถนะในทางออฟโรดได้อย่างยอดเยี่ยมตามคาด ไม่ว่าจะเป็นถนนลูกรังแห้งๆ หรือ ทางโคลนเหนียวๆ ดอกยางบั้งเป้งของ Michelin สามารถตะกุยไปข้างหน้าได้ง่ายๆ ส่วนยางที่พึ่งออกมาใหม่อย่าง Bridgestone AX41 ก็สามารถใช้งานในระดับที่น่าพอใจ และให้ความมั่นใจในการขับขี่ที่พอตัว เช่นเดียวกับยางลายคลาสสิกจาก Continental TKC80 แต่ในทางกลับกัน ประสิทธิภาพในทางออฟโรดของยาง Mitas ตกลงแบบรู้สึกได้
การทดสอบในทางเปียกและฝน
และการทดสอบครั้งนี้ของ Motorrad ได้ขับขี่ผ่านพื้นเปียก หรือลื่น ในรูปแบบต่างๆที่เราสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน เช่น ฝาท่อระบายน้ำ เส้นแบ่งถนน ทางรถไฟ เหล็กรอยต่อสะพาน แผ่นเหล็กปิดหลุมถนน ถนนน้ำขัง หรือฝนตกหนักแน่นอนว่ายางแต่ละรุ่นหรือยี่ห้อจะออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานได้ดีในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่หากต้องใช้ยางในการเดินทางจริงๆ ปัจจัยอื่นๆในการเดินทางที่กล่าวมาข้างต้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนั้นในการทดสอบบนพื้นเปียกนี้ จะขี่บนทางโค้งยูเทิร์น ที่จะแสดงถึงสมรรถนะในการรีดน้ำของยางแต่ละรุ่นได้เป็นอย่างดี และอีกหนึ่งปัจจัยคือ การเบรกบนพื้นเปียก เพราะถ้าหากยางสามารถทำความเร็วได้บนพื้นเปียก การเบรกต้องกระชับและสั้นที่สุด เพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วต้องเบรกกระทันหัน
จากกราฟด้านข้าง คือลักษณะของโค้งที่ใช้ทดสอบ ซึ่งจะเป็นโค้ง 180 องศา ซึ่งจะสามารถแสดงประสิทธิภาพของยางได้เป็นอย่างดี ด้วยองศาการเข้าโค้ง และความเร็วที่สามารถทำได้ในโค้ง
เมื่อเปรียบเทียบในยางแต่ละรุ่นแล้ว ในทางโค้งถนนเปียก Pirelli กลับสามารถ แสดงประสิทธิภาพได้ดี ทั้งในด้านความเร็วสูงสุดที่ทำได้ และ องศาการเข้าโค้งที่มากที่สุด อีกหนึ่งสิ่งที่ Motorrad ค้นพบคือ… จากการทดสอบแรกที่ Mitas เป็นยางประสิทธิภาพดีบนพื้นถนนดำและทางหลวง แต่ในทางเปียกกลับไม่ใช่ยางที่ทำคะแนนได้สูงนัก ส่วนยาง Michellin ที่ทำคะแนนได้ดีในทางออฟโรด ในทางหินกรวด และดิน กลับทำคะแนนได้น้อยที่สุดในการทดสอบครั้งนี้ และถ้าพูดถึงยางที่ทำคะแนนได้ดีแบบน่าทึ่ง กลับเป็น ยางจาก Pirelli และ Metzeler ที่ทำคะแนนได้ไล่เลี่ยกัน เป็นยางจากสองค่ายที่ให้ความมั่นใจในทางเปียก และเข้าโค้งได้เหนือกว่ารุ่นอื่นๆ
ทดสอบอายุการใช้งาน
แน่นอนว่าหลายๆคนชอบความรู้สึกของยางใหม่ ที่นุ่มนวลบนพื้นเรียบ เลี้ยวคมฉับไว แต่สำหรับนักขี่ออฟโรดแล้ว ยางใหม่ก็ไม่ต่างอะไรจากรองเท้าบูท หรือรองเท้าเดินป่าคู่ใหม่ ที่มีความแข็งกระด้าง ยังไม่เข้ารูปเท้า หรือยังไม่สึก ตามรูปแบบการเดินของเรา เหมือนกับไวน์ที่ต้องใช้เวลาในการบ่มถึงจะได้ไวน์ที่อร่อย รสชาติดี เช่นเดียวกับยางออฟโรด ดอกยางที่เหลี่ยมคม จะให้ความรู้สึกที่กระด้างเล็กน้อย และต้องใช้การขับขี่เพื่อให้บั้งยางสึกเข้ารูป แล้วนุ่มนวลขึ้นสมรรถนะของยางใหม่เอี่ยมจะใช้งานได้ดี ตามที่ยางถูกออกแบบมา
แต่เมื่อยางถูกใช้งานไปแล้ว ประสิทธิภาพของยางในการใช้งานบนพื้นที่นั้นก็จะลดลง หรือในบางกรณีที่ยางหน้า หมดก่อนยางหลัง เพื่อทดสอบสมรรถนะยางในกรณีนี้ Motorrad ถึงเลือกใช้ รถรุ่นเดียวกัน ขับขี่ในเส้นทางเดียวกัน และเป็นแถวตอนเรียงหนึ่ง เพื่อให้ยางทั้ง 6 รุ่น ถูกใช้งานอย่างเท่าเทียม และการเดินทางครั้งนี้ใช้ระยะทางกว่า 1500 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะที่มากพอที่จะเห็นการสึกหรอของยางแต่ละรุ่นได้ชัดเจน
คำถามที่ว่า ยางออฟโรด ดอกนิ่มๆ หมดเร็วกว่ายาง ที่ออกแบบเพื่อขี่ถนนเป็นหลักหรือไม่? คำตอบก็คือ…ไม่เชิง ถ้าดูเรื่องการสึกหรอ Continental TKC 80 เป็นยางที่สึกน้อยที่สุด แต่ก็อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับ Bridgestone AX41 และ Mitas E-07 ที่ทำคะแนนได้ไล่เลี่ยกัน ในขณะเดียวกันที่ยางหลังของ Michelin จากตารางแล้วสึกหรอมากที่สุด แต่ยางหน้าถือว่าไล่เลี่ยกับรุ่นอื่นๆ ในความเป็นจริงแล้วอยู่ที่การเลือกใช้งานว่าจะขี่ทางไหนเป็นหลัก
ถ้าดูจากคะแนนสรุป แน่นอนว่าอันดับ 1 ตกเป็นของ Pirelli Scorpion Rally ที่ถึงแม้ว่ายางของ Pirelli จะได้จุดเด่นในเรื่องของทางเปียก แต่ได้คะแนนรวมสูงสุดจากการทดสอบทั้งหมด
ส่วนยางของ Michelin ที่ทำคะแนนได้อันดับหนึ่งในทางออฟโรด กลับร่วงเป็นอันดับสุดท้ายเมื่อต้องเจอกับทางเรียบหรือถนนหลวง ส่วนยางที่ทำคะแนนรวมอยู่ในระดับกลางๆ เป็นยางที่ใช้งานได้ดีในการทดสอบทั้ง 4 รูปแบบ ก็คือ Bridgeston และ Continental ที่ทำคะแนนรวมได้เท่ากันเป็นอันดับ 3
อ่านข่าวสารเพิ่มเติม คลิกทีนี้
ติดตามข่าวสารใน Facebook คลิกทีนี้
ถ้ายางลองยางอันดับที่ 1 คลิกทีนี้
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นิตยาสาร Motorrad issue ที่ 12 วันที่ 24/05/2019