รถแข่ง KTM ใน MotoGP ทำไมถึงได้ใช้ช่วงล่างต่างจากค่ายอื่น

Admin Superbike

รถแข่ง KTM ใน MotoGP ทำไมถึงได้ใช้ช่วงล่างต่างจากค่ายอื่น

รถแข่ง KTM

นับตั้งแต่เข้าร่วมแข่งขันในศึก MotoGP ค่ายรถสีส้มสัญชาติออสเตรียอย่าง KTM ก็มักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการเลือกใช้งานชิ้นส่วนทางเทคนิคอยู่เสมอ เพราะเลือกใช้สิ่งที่ต่างออกไปจากค่ายรถอื่นๆ โดยเฉพาะในเรื่องของแชสซีและระบบกันสะเทือน คำตอบสั้นๆ คือเขายึดมั่นในหลักปรัชญาของแบรนด์ที่เป็นจุดกำเนิดของรถมอเตอร์ไซค์ทุกคันในค่าย ไม่ว่าจะเป็นรถโปรดักชั่นหรือรถแข่ง โดยเขาเลือกใช้แต่เฟรมเหล็กกล้าและระบบกันสะเทือนจากทาง WP ซึ่งเป็นแบรนด์ของพวกเขาเสมอ

 

แล้วคำอธิบายยาวๆ ล่ะ ก็อ่านกันต่อด้านล่างได้เลยครับ

คนที่ใส่ใจในมอเตอร์สปอร์ตจะจำได้ว่า KTM นั้นเข้าแข่งขันในศึกชิงแชมป์โลกมาตั้งแต่ต้นยุค 2000 แล้ว โดยมีรถแข่งในพิกัด 125 ซีซีและ 250 ซีซีแบบ 2 จังหวะ โดยรถ 125 ซีซีนั้นเคยมี Marc Marquez ควบลงแข่งให้ด้วย ในขณะที่พิกัด 2 สูบ 250 ซีซีนั้น เป็น Mika Kallio ที่การแข่งขันในปี 2008 ด้วยอันดับที่ 3 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ Marco Simoncelli คว้าแชมป์ด้วยรถ Gilera/Aprilia

ย้อนกลับไปตอนนั้นรถแข่งทั้ง 2 พิกัดใช้เฟรมอะลูมิเนียมอัลลอยเหมือนคันอื่นๆ ที่ลงแข่งในรุ่นเดียวกัน ซึ่งจริงๆ แล้วพวกมันไม่ใช่รถ KTM แท้ๆ เพราะมันถูกผลิตและพัฒนาโดย Harald Bartol ที่เคยทำงานให้กับ Yamaha และ Gilera ด้วย

Mika Kallio

และเมื่อมีการแข่งขันด้วยรถ 4 จังหวะในศึงชิงแชมป์โลกในรุ่นที่รองลงมาด้วย KTM ก็ตัดสินใจว่าตั้งแต่ปี 2012 พวกเขาจะลงแข่งด้วยรถที่สร้างจากทีมงานภายใน KTM เอง โดยมี Pit Beirer อดีตนักแข่ง MX มาช่วยวางโครงสร้างให้ และที่คุณเห็นว่ารถแข่ง Moto2 ที่เป็นแบรนด์ KTM นั้นใช้เฟรมอลูมิเนียมนั้นก็มีเหตุเป็นเพราะว่าเฟรมที่ใช้เป็นของ Kalex และ KTM ตัดสินใจที่จะไม่ผลิตเฟรมให้กับรถแข่งในรุ่นนี้

Brad Binder

ซึ่งในจุดนี้ก็เป็นที่วิจารณ์กันในแง่ลบอย่างมาก ตอนที่ KTM มีทีมโรงงานเข้าแข่งขันในคลาสรองแบบนี้ จากการที่ KTM พัฒนารถของตัวเองในแบบที่ซับซ้อน และไม่ยอมรับโอกาสที่จะได้แข่งกับคู่แข่งด้วยรถที่มีอุปกรณ์ที่ทัดเทียมกัน แต่เรื่องนี้มีคำอธิบายเพราะในส่วนของเฟรมนั้น เฟรมแบบเหล็กกล้านั้นง่ายต่อการทำงานด้วยมากกว่า และสองฤดูกาลล่าสุด KTM ก็ได้จ้างช่างเทคนิคจาก Ohlins มาหลายคน และมาช่วยพัฒนาโช้คและระบบกันสะบัดของพวกเขา จนเข้าใจว่าระบบกันสะเทือนที่ดีนั้นต้องเป็นอย่างไร ทำงานอย่างไร

ปีนี้ KTM ก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าพวกเขาค้นพบสูตรการเซ็ตรถที่ดีเพียงพอที่จะทำให้พวกเขาคว้าชัยชนะมาได้ถึง 2 ครั้งจากการแข่งขันที่ Brno และออสเตรีย จากฝีมือของสองนักแข่งหนุ่มที่หลายๆ คนคิดว่าพวกเขายังไม่พร้อมจะขึ้นมายืนบนแถวหน้าของโพเดียม

สรุปว่าการเลือกใช้ช่วงล่างและระบบกันสะเทือนที่ต่างไปจากค่ายอื่นทำให้ รถแข่ง KTM คว้าชัยในศึก MotoGP มาได้อย่างนั้นหรือ? คำตอบก็น่าจะออกมาว่า ไม่ แต่ทำไมล่ะ?

โช้คหน้าจาก WP

ก่อนอื่นต้องบอกให้ชัดเจนเลยว่าการที่จะชนะในศึก MotoGP ในยุคปัจจุบันนี้ชิ้นส่วนทุกอย่างในตัวรถจะต้องทำงานด้วยกันได้อย่างกลมกลืนทุกภาคส่วน ไม่ใช่ว่าทุ่มทุนไปแล้วจะได้อะไรที่เจ๋งออกมาง่ายๆ มันอาจจะทำให้รถไม่บาลานซ์หรือไม่สมดุลก็ได้ โดยเฉพาะกับยาง Michelin ที่อ่อนไหวมากๆ ด้วย หากว่าสามารถหาสูตรเซ็ตรถพื้นฐานที่ดีได้ และเริ่มต้นโชว์สมรรถนะของรถได้ดีตั้งแต่วันซ้อมในวันศุกร์ช่วงเช้าได้ เวลาส่วนใหญ่ที่เหลือก็สามารถที่จะเอาไปใส่ใจในเรื่องของยางได้มาก เป็นต้นว่าจะเลือกยางตัวไหนดี ต้องทำยังไงให้ยางมันทำหน้าที่ของมันได้ดี มาถึงจุดนี้การเลือกระบบกันสะเทือนหรือเลือกว่าจะใช้เฟรมที่ทำจากอะไรก็จะมีความสำคัญน้อยลงไป เว้นแต่ว่าจะมีผลต่อการปรับจูนรถ

ตอนนี้เองก็ดูเหมือนว่า KTM จะจัดการปัญหาเรื่องระบบกันสะเทือนของพวกเขาได้แล้ว ในอนาคต Honda เองอาจจะตัดสินใจทิ้ง Showa ไป แต่ KTM ยังคงเลือกที่จะใช้ WP ต่อไปแน่ เพราะมันกินเวลาหลายฤดูกาลอย่างแน่นอนกว่าที่จะลงตัว และไม่ใช่ว่าค่ายรถทุกค่ายจะสามารถจ่ายเงินพัฒนาใหม่ไหวและอาจจะทนรอให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีไม่ไหวอีกด้วย

 

ข้อดีข้อเสียของเฟรมเหล็กกล้า

เฟรมอลูมิเนียม

 

ในกรณีของเฟรมนั้นมันค่อนข้างจะซับซ้อน แชสซีของรถแข่งนั้นออกแบบมาให้แข็งแรงและแม่นยำ ซึ่งในแง่นี้เฟรมเหล็กกล้าต่างจากอลูมิเนียมอัลลอยอย่างมาก เหล็กกล้านั้นมีค่าโมดูลัสยืดหยุ่นมากกว่าอลูมิเนียมถึงเกือบ 3 เท่า (แม้จะหนักกว่า แต่แข็งแรงกว่ามาก) ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเฟรมเหล็กกล้าจึงมีลักษณะเล็กกว่าเฟรมอลิเนียมอยู่มาก ขณะที่ความแข็งแรงเชิงโครงสร้างนั้นใกล้เคียงกัน แต่อย่างไรก็ดีเฟรมทั้งสองรูปแบบนี้สามารถออกแบบและสร้างออกมาให้ได้ผลแบบเดียวกันได้ แต่ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป

เฟรมเหล็กหน้านั้นผลิตขึ้นง่ายกว่า ถูกกว่า ช่วยให้วิจัยและพัฒนาความแข็งแรงได้รวดเร็วกว่า เป็นต้นว่าเปลี่ยนความหนาของเหล็กกล้าก็มีผลลัพธ์ที่แตกต่างแล้ว

ขณะที่เฟรมแบบอลูมิเนียมนั้นซับซ้อนกว่ามาก ยากต่อการผลิต ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ในการขึ้นรูป ขั้นตอนการเชื่อมมันติดเข้าด้วยกัน การพัฒนาจึงต้องทุ่มเทกำลังงานและเวลาไปมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามด้วยการที่มันมีค่ามอดูลัสยืดหยุ่นที่น้อยกว่าเหล็ก ทำให้มันมีการคลาดเคลื่อนในเชิงโครงสร้างน้อยกว่ามาก จึงมีความแม่นยำสูงมากเฟรมอลูมิเนียมที่นำมาใช้ในทีมแข่งจึงใกล้เคียงกันมาก ทำให้ง่ายต่อการปรับเซ็ตรถในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่มีการแข่งขัน

เฟรมเหล็กกล้า

ปีที่แล้ว KTM มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเฟรมไปขนานใหญ่ มีการดัดแปลงเฟรมที่ใช้ในรถโมโตครอสและมีการวางบีมเหล็กกล้าในลักษณะแนวทแยงมุม ซึ่งทดสอบแล้วว่าทำงานร่วมกันกับสวิงอาร์มคาร์บอนได้เป็นอย่างดี สามารถให้ความแข็งแรงที่เหมาะสมเพียงพอที่จะรีดสมรรถนะจากยาง Michelin ออกมาได้ ส่วนที่เหลือต้องขอบคุณ Dani Pedrosa ที่ทำงานอยู่ในทีมทดสอบและทีมพัฒนาเครื่องยนต์

เรียกได้ว่าขนาดจะพัฒนาเฟรม KTM ก็เลือกเดินทางที่แตกต่าง อย่างไรก็ตามเราได้เห็นถึงศักยภาพของแผนกเรซซิ่งของ KTM ว่ายิ่งใหญ่ทั้งในแง่ของการทุ่มทุนและการสนับสนุน ซึ่งช่วยให้เขามาถึงระดับแนวหน้าของ MotoGP ได้อย่างทุกวันนี้

อ่านข่าวอื่นๆ คลิกที่นี่

รับชมวิดีโอการทดสอบรถต่างๆ ของเราคลิก

 

Next Post

SRT 500 ที่อาจจะกลายเป็น Benelli TRK502X 2021

SRT 500 ที่อาจจะกลายเป็น Benelli TRK502X 2021 ล่าส […]

You May Like

Subscribe US Now

Exit mobile version