ถุงมือบิ๊กไบค์ ทำไมต้องมี แล้วมันดียังไง ?

Joe Superbike

ถุงมือบิ๊กไบค์ ทำไมต้องมี แล้วมันดียังไง ?

ถุงมือบิ๊กไบค์

เคยสงสัยกันไหมครับ…ว่าทำไม ถุงมือบิ๊กไบค์ ขี่รถมีหลายแบบ ทั้งข้อสูง ข้อต่ำ หนัง ผ้า มีส่วนประกอบเยอะแยะมากมาย มีการ์ดไทเทเนียม คาร์บอนไฟเบอร์ หนังวัว หนังแกะ รายละเอียดเยอะแยะไปหมด บางทีก็แทบเป็นแค่ผ้า หรือหนังล้วนไปเลย มันต่างกันอย่างไร ควรเลือกใส่แบบไหน ถึงจะเหมาะสม มาหาคำตอบกัน

ถุงมือสำหรับขี่รถนั้นเป็นสิ่งจำเป็นลำดับแรก ๆ ที่สำคัญมากคู่กับหมวกกันน็อกเลยทีเดียวนะครับ อย่างแรกเพราะถุงมือนั้นมีหน้าที่ปกป้องมือของเรา เวลาเราล้ม สัญชาติญาณของเราจะเอามือยันพื้นก่อน (ในกรณีที่ไม่ได้ถูกฝึกมาให้เก็บคองอเข่าเหมือนนักกีฬาอาชีพในสนามแข่งขัน)

ซึ่งถุงมือนั้นจะช่วยปกป้องมือของเราจากการบาดเจ็บอย่างรุนแรง การฉีกขาดของนิ้วมือ ลดหนักให้เป็นเบา ตลอดจนการบังคับควบคุมแฮนด์เดิ้ลรถของคุณอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากตำแหน่งกริปต่าง ๆ ที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะสม และยังลดแรงกระแทกจะพื้นถนนมาสู่มืออีกด้วย และอาจแบ่งความสำคัญเบื้องต้นได้สัก 5 แบบ เช่น

 

1.ป้องกันการบาดเจ็บการล้ม เพราะเราคาดเดาไม่ได้ว่าจะล้มเมื่อไหร่ ที่ไหนและสภาพพื้นทีที่ล้มต้องเจอกับอะไร

2.ปกป้องมือของคุณ มือ สำคัญกับการใช้ชีวิตใช่ไหมครับ ลองนึกถึงแค่เวลาถูกมีดบาดสักนิ้ว เรายังใช้ชีวิตลำบากขึ้นเลย น่าหงุดหงิด จิตหงุดเงี้ยวไปหมดใช่ไหมครับ จะหยิบจะจับอะไรก็ไม่สะดวกปกป้องส่วนสำคัญของร่างกาย

ไม่อยากจะนึกภาพเลย ถ้าคุณไม่ใส่ถุงมือ

3.ปกป้องส่วนสำคัญของร่างกาย หากเคยล้มมาบ้างแล้ว น่าจะพอนึกออกใช่ไหมครับ เวลาล้ม Reaction ของร่างกายเราจะเอามือลงพื้น หรือ ปกป้องร่างกายไม่ว่าจะเก็บคอกุมศรีษะ โดยมีมือเรานี่แหละ สัมผัสก่อนพื้นแน่นอน

ลดอาการมือชา จากการขับขี่ทางไกลได้อีกด้วย

4.ป้องกันอาการชาของมือ เวลาขี่รถเป็นระยะเวลานาน นึกถึงอาการเหน็บชามือ ตอนออกทริปสัก 300-500 กิโลในหนึ่งวันไหมครับ ชาสะท้านไปหมดใช่ไหม กริปฝ่ามือของถุงมือดีดี ช่วยตรงนั้นแหละครับ นอกเหนือจากป้องกันฝ่ามือตอนล้ม ยังมีหน้าที่รองรับแรงสะเทือน ลดอาการชาของมือให้เรานั่นเอง

5. สำคัญไม่แพ้กันคือ การควบคุมการขับขี่รถที่มีประสิทธิภาพในหน้าร้อน เหงื่อท่วมมือ ถุงมือที่ดีจะลดความเสี่ยงช่วยให้มือของคุณไม่ลื่น เวลาบิดเพื่อเพิ่มหรือลดความเร็ว มีการระบายอากาศ และยังคงกริปที่ดี เพื่อความปลอดภัยสูงสุด เวลาอากาศหนาว ก็ช่วยไม่ให้ชา แต่บ้านเรา โอกาสจะเจอหนาวค่อนข้างน้อย ถ้าไม่ขึ้นดอยล่ะนะ

ถ้าจะจำแนกรูปแบบของถุงมือ เราอาจจำแนกง่าย ๆ ก่อนจากหนังที่ใช้ทำถุงมือ (หรือเสื้อหนัง ไปถึงชุดแข่ง) มีหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับ ราคา การใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น หนังกวาง หนังแพะ หนังแกะ หนังวัว หนังจิงโจ้ กระทั่งหนังหมู (moon sweat) คุณสมบัติที่แตกต่างกันแต่ละชนิด เหมาะกับการใช้งานที่ยืดหยุ่นแตกต่างกัน บ้างก็เหนียวทน แต่หนาเกินไป บ้างก็บางไป ใส่สบายแต่ไม่ได้ทนทาน บางรุ่นมีส่วนผสมของหนังแต่ละแบบเย็บเข้าด้วยกันแยกตามตำแหน่งของมือ รวมไปถึงเทคโนโลยีการเย็บประกอบไทเทเนียม หรือคาร์บอนไฟเบอร์ ไปถึงเคฟล่าห์เข้าไปให้อีก แล้วเราจะเลือกอย่างไรให้เหมาะกับเราดีล่ะ มาลองดูถุงมือแต่ละแบบกัน

1.Short Cuff

ถุงมือข้อสั้น เหมาะกับการใช้งานขี่รถในเมือง สะดวกสบาย ถอดใส่ง่าย พกพาสะดวก ออปชันก็มีทั้งผ้า หนัง หรือป้องกันฝ่ามือ แต่จะสั้นแค่ข้อมือ ราคาก็จะประหยัดกว่าถุงมือข้อยาวแบบอื่น

2.Guanlet

ถุงมือข้อยาว สำหรับการปกป้องเพิ่มขึ้นอีกระดับ ใส่ได้ครอบคลุมที่สถานการณ์ขับขี่หลากหลาย เพิ่มความปลอดภัยมากขึ้นจากความสูงพ้นข้อมือ มีอุปกรณ์ป้องกันมากขึ้น กระชับและมั่งคงกว่าข้อสั้น ซึ่งเราค่อนข้างแนะนำ ถุงมือแบบนี้มาก ราคาสูงกว่าข้อสั้นพอสมควร อาจไม่ค่อยสะดวกสบายเหมือนข้อสั้น แต่ก็แลกมาด้วยความปลอดภัย

3.Racing Gloves

จัดเต็มทุกองค์ประกอบ และการปกป้องสูงสุด มีส่วนควบด้วยโลหะ คาร์บอนไฟเบอร์ วัสดุสังเคราะห์
หนังหลากแบบ ปกป้องทั้ง นิ้วมือ ฝ่ามือ ข้อมือ ทุกองศารองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากความเร็วสูง กระชับ ระบายอากาศดี สวยจัด ราคาสูงแลกกับอัตถประโยชน์ที่ดีที่สุด ใส่ได้ทั้งในสนามและนอกสนาม

4.Dirt bike or Adventure Touring bike

ความลงตัวกับการเดินทางหลากหลายสภาพอากาศที่มาพร้อมกับความปลอดภัย และความสบาย
มีความทนทานมากเมื่อเทียบกับถุงมือแบบอื่น มีการใช้เส้นใยไฮเทค ที่มีความเหมาะสมกับการเดินทางที่ต้องเจอความร้อน ความเย็น ความชื้น อาจจะคล่องตัวน้อยลงบ้างเพื่อแลกกับการดูแลมือของเราจากสภาพอากาศสุดขั้วหลาย ๆ แบบ

นักขับขี่ หรือไบค์เกอร์มากมาย ยังมองข้ามความสำคัญของถุงมืออยู่มาก เพราะมันไม่ได้มีกฎหมายห้ามเหมือนการใส่หมวกกันน็อค ลองกลับขึ้นไปดูเหตุผลทั้งหมดข้างต้นน่าจะทำให้เข้าใจความแตกต่างของถุงมือขี่รถมากขึ้นแล้วนะครับ อย่ามองข้ามสิ่งต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัย เลือกใส่ที่เหมาะสมทั้งตัวเราและผู้โดยสารกันนะครับ

เขียนและเรียบเรียงโดย : เป๊สซี่สิบโล

อ่านข่าวอื่นๆ คลิกที่นี่

รับชมวิดีโอการทดสอบรถต่างๆ ของเราคลิก

Next Post

รีวิว Aprilia Tuareg 660 2023 สายลุยไซส์กลาง ไฮเทคเต็มระบบ 

รีวิว Aprilia Tuareg 660 2023 สายลุยไซส์กลาง ไฮเทค […]

You May Like

Subscribe US Now

Exit mobile version